ความหมายของจิตวิทยา
“จิตวิทยา”เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต
โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย
สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวทางในการศึกษา
ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลองนำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษาศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน
¢ จิตวิทยากับการเรียนการสอน
¢ จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน
พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
¢ ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1. ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
2. หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4. การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน
¢ จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก
มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง
นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
¢ หลักการสำคัญ
1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.
มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
จิตวิทยาครู
ครู หมายถึง
ผู้สอน มาจากภาษาบาลีว่า “ครุ” ภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” แปลว่า หนัก
สูงใหญ่ ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ ครูต้องมีความหนักแน่น สุขุม
ไม่วู่วาม ทั้งความคิดและการกระทำ
บทบาทและความสำคัญของครูในปัจจุบันธีรศักดิ์
(2542) ได้กล่าวถึง 4 ประเด็น
ดังนี้
¢ บทบาทและความสำคัญต่อเยาวชน
¢ บทบาทและความสำคัญของครูในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
¢ บทบาทและความสำคัญของครูในการรักษาชาติ
¢ บทบาทและความสำคัญของครูในเยียวยาสังคม
¢ รูปแบบของครู (Models of Teachers) Fenstermacher และ Soltis (1992)ได้กล่าวถึงรูปแบบและบทบาทของครู เป็น 3 ประเภท
The
Executive Model ทำหน้าที่คล้ายบริหาร
The Therapist Model มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด
The
Liberationist Model ครูที่ให้อิสระผู้เรียนในการเรียนรู้
¢ Parsons and
others (2001)กล่าวว่าครูควรมีหลายบทบาทตามความเหมาะสมของสภาพการณ์ มิใช่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญเฉพาะเนื้อหา ดังนั้นครูอาจมีบทบาท ดังนี้
¢ รับผิดชอบการวางแผนการสอนและวัดผล
¢ มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนหรือให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
¢ ทำหน้าที่ผู้จัดการ
หรือบริหารห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้
¢ ให้คำปรึกษา
รับฟังความคิดเห็นแก่ผู้เรียน
¢ บทบาทดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของWoolfok และ Nicalich (1980) ที่กล่าวไว้หลายประเด็นและมีคลอบคลุม
ดังนี้
เป็นผู้ชำนาญการสอน เป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ
เป็นผู้จัดการเป็นผู้นำ
เป็นผู้ให้คำปรึกษา
เป็นวิศวกรสังคม
เป็นตัวแบบ
¢ หลักการที่สำคัญสำหรับครู
Mamchak
and Mamchak (1981)
ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างบรรยากาศ ในห้องเรียนที่เป็นรูปธรรม
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและนักเรียน
¢ ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-
ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
- ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-
ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น
แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
¢ ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้
รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
- ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
-
ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ
รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน (สุวรี, 2535)
ความหมายของการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
คิมเบิล (
Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้
เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม
อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
ฮิลการ์ด
และ เบาเวอร์ (Hilgard &
Bower, 1981)
"การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก
ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี
หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์
"
คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้
เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง
อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third
New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ
อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
ประสบการณ์ทางตรง คือ
ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง
เช่น เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า “ร้อน”
เวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก
จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน
จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร
ต่อไป
เมื่อเขาเห็นกาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับกาน้ำนั้น เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว เช่นนี้กล่าวได้ว่า ประสบการณ์
ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม
ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
๑.
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
๒.
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
๓.
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
๔.
พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
ประสบการณ์ทางอ้อม คือ
ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก การอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า
การอ่านหนังสือต่างๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย
บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓
ด้าน ดังนี้
๑.
ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive
Domain) คือ
ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ
ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์
การสังเคราะห์และประเมินผล
๒.
ด้านเจตพิสัย (Affective
Domain ) คือ
ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก
ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
๓.
ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor
Domain) คือ
ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท
การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller)
เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔
ประการ คือ
๑. แรงขับ (Drive)
เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง
ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ
แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา
หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
๒. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน
สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
๓. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ
ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด
การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
๔. การเสริมแรง (Reinforcement)
เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง
ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ
ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก